วิตามิน บี9

วิตามิน บี9

วิตามินบี 9 หรือ กรดโฟลิก

กรดโฟลิก (โฟเลต, โฟลาซิน) หรือ วิตามินบี 9 หรือที่รู้จักกันในชื่อ วิตามินเอ็ม หรือ วิตามินบีซี (Bc) จัดอยู่ในกลุ่มของ วิตามินบีรวม มีหน่วยวัดเป็นไมโครกรัม (มคก. หรือ mcg.) มีส่วนช่วยในกระบวนการเผาผลาญโปรตีน มีความสำคัญในการสร้างเม็ดเลือดแดง ช่วยในการสร้างกรดนิวคลีอิก และมีความจำเป็นต่อการแบ่งตัวของเซลล์ นอกจากนี้ร่างกายต้องใช้ในกระบวนการใช้น้ำตาลและกรดอะมิโน โดยกรดโฟลิกนั้นถูกทำลายได้ง่ายด้วยอุณหภูมิห้องเป็นเวลานานเกินไป

แหล่งที่พบวิตามินบี 9

แหล่งที่พบกรดโฟลิกตามธรรมชาติ ได้แก่ ไข่แดง ตับ ผักใบเขียวเข้ม แคร์รอต แคนตาลูป ฟักทอง เอพริคอต อะโวคาโด อาร์ทิโชก ถั่ว แป้งไรย์แบบสีเข้มที่ไม่ผ่านการขัดสี ทอร์ทูลายีสต์ เป็นต้น

กรดโฟลิค

อันตรายจากการรับประทานวิตามิน บี9 เกินขนาด

ผลเสียของการรับประทานเกินขนาด ในปัจจุบันยังไม่พบว่ามีอาการที่เป็นพิษต่อร่างกายหากรับประทานในปริมาณมากติดต่อกัน แต่ในผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการผื่นแพ้ได้บ้าง และหากร่างกายมีกรดโฟลิกมากเกินไป อาจทำให้เป็นโรคโลหิตจางจากการขาดวิตามินบี 12 ไม่แสดงออกมาโดยศัตรูของกรดโฟลิก ได้แก่ น้ำ กระบวนการแปรรูปอาหาร (โดยเฉพาะการต้ม) แสงแดด ความร้อน ยาในกลุ่มซัลฟา ฮอร์โมนเอสโตรเจน และโรคที่เกิดจากการขาดกรดโฟลิก ได้แก่ โรคโลหิตจางแบบแมโครไซติกหรือเม็ดเลือดแดงมีขนาดใหญ่ผิดปกติ

คำแนะนำในการรับประทานวิตามิน บี9 กรดโฟลิก

ขนาดที่แนะนำให้รับประทานคือประมาณ 180 – 200 ไมโครกรัมต่อวัน และสำหรับหญิงตั้งครรภ์ควรเพิ่มขนาดเป็น 2 เท่า ส่วนหญิงให้นมบุตรควรรับประทาน 280 ไมโครกรัมในช่วง 6 เดือนแรก และ 260 ไมโครกรัมในช่วง 6 เดือนหลัง
กรดโฟลิกในรูปแบบอาหารเสริมมีวางจำหน่ายตั้งแต่ปริมาณ 400 – 800 ไมโครกรัม ส่วน 1,000 มิลลิกรัม ต้องซื้อโดยใช้ใบสั่งของแพทย์เท่านั้น
โดยทั่วไปกรดโฟลิกจะมีผสมอยู่ในรูปแบบของวิตามินบีรวม ประมาณ 100 ไมโครกรัมไปจนถึง 400 ไมโครกรัม
คุณควรเลือกซื้ออาหารเสริมที่มีทั้งโฟเลตและวิตามินบี 12 อยู่ด้วยกัน
โดยขนาดที่แนะนำให้รับประทานต่อวันคือ 400 – 5,000 ไมโครกรัมต่อวัน