Blood-Vitamin-K

เกือบตาย!! เลือดไหลไม่หยุดเพราะขาดวิตามิน

Blood-Vitamin-K
เหตุการณ์หรืออุบัติเหตุที่ไม่คาดคิดมักเกิดขึ้นโดยที่เราไม่ระวังตัว ทำให้เราได้รับบาดแผลเจ็บตัว บางครั้งถึงขั้นเลือดตกยางออก หรือบางครั้งอาจมีเลือดออกด้วยอาการหรือโรคต่างๆ เช่น การถอนฟัน เลือดกำเดาไหล ซึ่งเราจะเห็นได้ว่า บางคนเลือดออกนานและบางคนเลือดก็หยุดไหลไว เกิดจากเกร็ดเลือดแข็งตัวช้า ทั้งนี้การทานอาหารการได้รับสารอาหารจากวิตามินก็มีส่วนช่วยในกระบวนการทำงานของเม็ดเลือดเช่นกัน 

วิตามินเค มีส่วนที่ช่วยกระบวนการสร้างของกระดูกและการเรียงตัวของเนื้อกระดูก โดยเมื่อมีการทำงานร่วมกับแคลเซียมจะพบว่ากระดูกจะมีความแข็งแรงและไม่เปราะง่าย และนอกจากนี้หากขาด วิตามินเค ในส่วนนี้อาจทำให้เกิดกระดูกงอกผิดที่ผิทางในส่วนของร่างกายของคนเราได้ และอาจเกิดก้อนหินปูนในอวัยวะต่างๆ รวมถึงอาจก่อให้เกิดหลอดเลือดอุดตันในหัวใจหรือสมองได้ นอกจากนี้ยังมีส่วนสำคัญที่ช่วยให้เกิดการแข็งตัวของเลือดหากขาดวิตามินเค เลือดจะไหล ออกมาไม่หยุดต้องทำการห้าม เลือด อย่างเร่งด่วน

โดยในภาวะที่ร่างกายขาด วิตามินเค คือจะทำให้มี เลือดไหล ออกมา จากอวัยวะต่างๆ ของร่างกาย ไม่ว่าจะเป็น ผิวหนัง ลำไส้ หรือช่องกะโหลกศีรษะ สำหรับโรคที่มักจะเกิดขึ้น หากร่างกาย ได้รับปริมาณของ วิตามินเค น้อย หรืออยูในภาวะขาด วิตามินเค เช่น โรคเรื้อรังของ ระบบทางเดินอาหารบางชนิด โรคทางเดินน้ำดีอุดตัน เป็นต้น และในสำหรับคุณแม่ที่เลี้ยงลูกด้วยนม หากคุณแม่มีภาวะเกิดการขาด วิตามินเค อาจจะส่งผลทำให้ลูก เกิดภาวะเลือดไม่แข็งตัว มีเลือดออกในช่องกะโหลก ลำไส้ หรือมีเลือดออก บริเวณผิวหนังได้ เนื่องจากเด็กทารก ยังมีปริมาณไขมันในระดับต่ำ และเชื้อโรคที่ลำไส้ของเด็กทารก ในช่วงที่เด็กอายุ 1 สัปดาห์หลังจากที่ลืมตาดูโลก ก็ยังไม่มีจึงไม่สามารถสังเคราะห์ วิตามินเค ได้เอง จึงต้องอาศัย วิตามินเค จากน้ำนมแม่อย่างเดียว อีกทั้ง วิตามินเค ช่วยในการทำงานของตับให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ถ้าขาด วิตามินเค จะทำให้เลือดไหลไม่หยุด หรือหยุดยากเวลามีบาดแผล เลือดแข็งตัวช้า หรือเลือดกำเดาออก มีการตกเลือด หรือเลือดออกภายใน เช่น ลำไส้เล็ก เลือดออกมากับปัสสาวะ เลือดออกที่ตา เลือดออกหลังผ่าตัด หรือคลอดก่อนกำหนด ให้กินอาหารที่มี วิตามินเค สูงเพื่อไปทดแทนวิตามินที่ขาดแคลน

สำหรับผู้ใหญ่นั้นที่มีภาวะขาด วิตามินเค มักเกิดร่วมกับสาเหตุบางอย่าง เช่น โรคเรื้อรังของระบบทางเดินอาหารบางชนิด โรคทางเดินน้ำดีอุดตัน หลังจากการผ่าตัดลำไส้เล็ก หรือได้รับยาปฏิชีวนะที่มีฤทธิ์ครอบคลุมเชื้อกว้าง

การวินิจฉัยทำได้โดยการตรวจ เวลาโปรธรอมบิน (prothrombin time ; PT) ซึ่งผู้ที่มีภาวะขาด วิตามินเค จะใช้เวลานานกว่าปกติ หรือตรวจปริมาณ วิตามินเค โดยตรงด้วยวิธี HPLC