Chromium-minerals

โครเมียม Chromium คืออะไร

Chromium-cover

โครเมียม (Chromium)

ทำงานร่วมกับอินซูลินในกระบวนการเผาผลาญน้ำตาล ช่วยนำโปรตีนไปยังส่วนต่าง ๆ ที่ร่างกายต้องการ ใช้ต่อวันสำหรับวัยผู้ใหญ่ ซึ่งผู้ที่เสี่ยงต่อการขาดแร่ธาตุชนิดนี้จะได้แก่ กลุ่มผู้สูงอายุ หญิงตั้งครรภ์ และนักกีฬา โดยร่างกายจะเก็บโครเมียมไว้ในร่างกายได้น้อยลงเมื่อคุณมีอายุมากขึ้น และเกือบ 90% ของผู้ใหญ่โดยทั่วไปยังได้รับโครเมียมไม่เพียงพอต่อร่างกาย ซึ่งการขาดธาตุโครเมียมนั้นเป็นหนึ่งในปัจจัยที่อาจเกี่ยวข้องกับโรคผนังเส้นเลือดแข็งตัว และโรคเบาหวานได้

แหล่งที่พบโครเมียม

แหล่งอาหารที่สามารถพบแร่ธาตุโครเมียม ได้แก่ ไก่ หอยกาบ ตับลูกวัว จมูกข้าวสาลี น้ำมันข้าวโพด บริเวอร์ยีสต์ เป็นต้น โดยหลักประกันที่ดีที่สุดที่คุณจะมั่นใจได้ว่าร่างกายของคุณไม่ได้ขาดแร่ธาตุนี้ คือการรับประทานอาหารให้หลากหลาย ซึ่งจะทำให้คุณได้รับสารอาหารอื่น ๆ ที่จำเป็นอีกด้วย และการได้รับแร่ธาตุโครเมียมในปริมาณมากเกินไป ในปัจจุบันยังไม่พบว่ามีเป็นอันตรายใด ๆต่อร่างกาย

คำแนะนำในการรับประทานธาตุโครเมียม

  1. โครเมียมในรูปของอาหารเสริมจะพบอยู่ได้ในอาหารเสริมประเภทแร่ธาตุรวมคุณภาพสูง โดยอาจมีปริมาณโครเมียมตั้งแต่ 50-300 ไมโครกรัม
  2. โครเมียมในอาหารเสริม หากเลือกได้แนะนำให้เลือกที่อยู่ในรูปแบบของ “โครเมียมไดนิโคติเนตไกลซิเนต“
  3. ปัจจุบันยังไม่มีขนาดที่แนะนำให้รับประทานต่อวันอย่างเป็นทางการ แต่โดยทั่วไปแล้วในวัยผู้ใหญ่แนะนำให้รับประทานประมาณ 50-200 ไมโครกรัม
  4. การรับประทานโครเมียมในปริมาณมากอาจมีผลไปรบกวนการดูดซึมของสังกะสีได้ ดังนั้นคุณควรรับประทานสังกะสีให้มากขึ้นกว่าเดิม
  5. ร้อยละ 90% ของวัยผู้ใหญ่โดยทั่วไปได้รับโครเมียมจากอาหารไม่เพียงพอ
  6. หากร่างกายคุณมีแร่ธาตุโครเมียมในร่างกายต่ำ คุณอาจลองรับประทานสังกะสีเสริมอาหารด้วยเหตุผลบางประการ เพราะสังกะสีจะช่วยทดแทนการขาดโครเมียมได้
  7. แม้โครเมียมจะมีส่วนช่วยในการรักษาโรคเบาหวาน แต่ผู้ป่วยโรคเบาหวานก็ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก่อนการรับประทาน
  8. ไม่ควรรับประทานธาตุโครเมียมร่วมกับแคลเซียมคาร์บอเนตหรือยาลดกรดพร้อมกัน เพราะแคลเซียมอาจไปขัดขวางการดูดซึมของโครเมียมได้

– ประโยชน์ของธาตุโครเมียม

  1. ธาตุโครเมียม (Chromium) ช่วยในเรื่องการเจริญเติบโตของร่างกายช่วยนำโปรตีนไปยังส่วนที่ต้องใช้ในร่างกาย
  2. ช่วยป้องกันการเกิดโรคความดันโลหิตสูงและช่วยลดความดันโลหิต
  3. ช่วยป้องกันการเกิดโรคเบาหวาน
  4. โครเมียมทำงานร่วมกับอินซูลินในกระบวนการเผาผลาญน้ำตาล
  5. มีส่วนช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลทั้งหมดในร่างกาย และเพิ่มระดับคอเลสเตอรอลชนิดดีให้แก่ร่างกาย
  6. โครเมียมพิโคลิเนต (Chromium Picolinate) มีส่วนช่วยเร่งการเผาผลาญไขมันในร่างกายและไปช่วยเพิ่มมวลกล้ามเนื้อ
  7. ช่วยป้องกันอาการขาดน้ำตาล
  8. ช่วยป้องกันการเกิดภาวะอ่อนล้าหมดเรี่ยวแรงอย่างเฉียบพลัน
  9. ช่วยป้องกันกระดูกเปราะบาง

ปริมาณที่โครเมียมที่ร่างกายต้องการ

 ร่างกายมนุษย์ปกติคนทั่วไปควรได้รับโครเมียมปริมาณที่แนะนำโดยแพทย์ทั่วไป คือ 200 ไมโครกรัมต่อวัน (ขนาดที่ อย. อเมริกัน US FDA ได้แนะนำไว้คือ 50-200 ไมโครกรัมต่อวัน)

 อาการขาดวิตามิน

การขาดโครเมียม ทำให้เกิดอาการเหมือนกับคนที่มีภาวะต้านอินซูลิน และเบาหวานชนิดที่ 2 ระดับโครเมียมในเลือดที่ต่ำ สัมพันธ์กับการเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ผู้ป่วยเบาหวานจะมีระดับโครเมียมในพลาสมาลดลง จากการศึกษาวิจัยในคนและสัตว์ทดลองพบว่า ระดับโครเมียมในร่างกายต่ำมีความสัมพันธ์กับความผิดปกติในเมตาบอลิซึมของอินซูลิน กลูโคส และไขมัน ซึ่งจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด

  1. จะทำให้ระดับกลูโคส อินซูลิน คอเลสเตอรอล และไตรกลีเซอร์ไรด์ สูงขึ้น และระดับคอเลสเตอรอลชนิดดี (high density lipoproteins, HDL)ลดลง
  2. การขาดโครเมียมอย่างรุนแรงมีความผิดปกติของประสาทและสมอง อาการผิดปกตินี้กลับสู่ปกติได้โดยการให้โครเมียมเสริม การเสริมโครเมียมในเด็กขาดอาหาร ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยเบาหวาน และผู้ป่วยที่ได้รับอาหารทั้งหมดทางหลอดเลือดเป็นเวลานาน ช่วยให้ความทนต่อกลูโคสดีขึ้น
  3. การขาดโครเมียมเป็นหนึ่งในปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับโรคผนังเส้นเลือดแข็งตัว และโรคเบาหวาน

อันตรายจากการได้รับโครเมียมปริมาณมากเกินไป

การได้รับโครเมียมในปริมาณที่มาก อาจทำให้มีผลต่อตับ ไต เลือด แต่ยังไม่มีการรายงานอย่างแน่ชัดว่าอาการเหล่านี้เกิดจากโครเมียมหรือไม่ อาจต้องระมัดระวังการใช้ในกรณีต่อไปนี้

  1. ผู้ป่วยเบาหวาน โครเมียมอาจทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำลงได้ โดยเฉพาะหากทานยาเบาหวานอยู่ อาจทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำเกินไป ควรตรวจติดตามระดับน้ำตาลบ่อยๆ และ ปรึกษาแพทย์ในการปรับยา
  2. ผู้ป่วยโรคไตและตับ ไม่ควรรับประทานอาหารเสริมโครเมียม
  3. ผู้ที่แพ้โครเมียม โครเมต หรือ หนัง อาจมีการระคายเคือง อาการแพ้ หรือผื่นแพ้เช่น ผิวหนังบวม หรือ ลอกได้
  4. ผู้ป่วยโรควิตกกังวล ซึมเศร้า หรือ จิตเภท ควรระมัดระวังการใช้ เนื่องจากโครเมียมอาจมีผลต่อสารเคมีในระบบประสาท อาจทำให้อารมณ์แปรปรวนได้
  5. ผู้ป่วยไทรอยด์ต่ำ (ไทรอยด์ไม่เป็นพิษ) ที่รับประทานยาไทรอยด์ Levothyroxine โครเมียมอาจลดการดูดซึมของยา Levothyroxine ได้ ดังนั้นควรรับประทานยาไทรอยด์ก่อนโครเมียม 30 นาที หรือ รับประทานยาไทรอยด์หลังโครเมียม 3-4 ชั่วโมง
  6. หลีกเลี่ยงรับประทานยาแก้ปวดกลุ่ม NSAIDs เช่น Ibuprofen, Diclofenac, Piroxicam ร่วมกับโครเมียม เนื่องจากยาแก้ปวดเหล่านี้ทำใ้ห้ระดับโครเมียมในร่างกายสูงขึ้น ซึ่งอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงต่างๆง่ายขึ้นได้