Choline-minerals

โคลีน Choline คืออะไร

Choline-cover

โคลีน (Choline)

โคลีน(Choline)เป็นสารอาหารสำคัญตัวหนึ่งที่จัดอยู่ในกลุ่มของวิตามินบี โดยส่วนใหญ่อยู่ในรูปของฟอสฟา-ติดิลโคลีน (phosphatidylcholine) หรือโคลีนอิสระ (free choline) หากโคลีนรวมตัวกับไขมันที่เรียกว่าฟอสโฟลิปิด (phospholipid) จะได้เป็นฟอสฟาติดิลโคลีน (PC) ซึ่งเป็นส่วนประกอบที่พบมากที่สุดในเลซิทิน (Lecithin)ดังนั้นโคลีนจึงมีความเกี่ยวข้องใกล้ชิดกับเลซิทินโคลีน (Choline) เป็นสารข้นไม่มีสี ละลายในน้ำ และแอลกอฮอล์ ในร่างกายจะอยู่ในรูปฟอสโฟไลปิดหรือ Acetylcholine จำเป็นสำหรับการสังเคราะห์โปรตีน และฮอร์โมนจากต่อมหมวกไต เป็นสารที่ให้กลุ่มเมธิลแก่สารอื่นๆใช้สร้างสารฟอสโฟไลปิด เช่น เลซิติน ป้องกันไขมันสะสมในตับ(Lipotropic factor) และเป็นส่วนประกอบของ Acetylcholine ซึ่งจำเป็นสำหรับการทำงานของระบบประสาท

โคลีน จัดอยู่ในตระกูลวิตามินบีรวม และเป็นหนึ่งในสารที่ช่วยเร่งกระบวนการเผาผลาญไขมันในร่างกาย โคลีนจะทำงานร่วมกับอิโนซิทอล ในกระบวนการใช้ไขมันและคอเลสเตอรอลของร่างกาย โคลีนจะตรงเข้าไปยังเซลล์สมองเพื่อผลิตสารเคมีที่ช่วยเรื่องความทรงจำ การใช้โคลีนในร่างกาย ขึ้นอยู่กับวิตามิน บี12 กรดโฟลิก และกรดอะมิโนคาร์นิทีน

แหล่งที่พบโคลีนในธรรมชาติ 

พบมากใน ไข่แดง ผักใบเขียว ผักกาดหอม ผักลงหัวชนิดต่างๆ ผักกาด ผลไม้รสเปรี้ยว กล้วย ข้าวโพด ข้าวสาลี เนื้อไก่ หอย นม กะหล่ำปลี ธัญพืช ยีสต์ ตับ จมูกข้าวสาลี

 

ประโยชน์ที่ร่างกายได้รับจากโคลีน

  1. ช่วยในการสร้างเลซิติน
  2. ช่วยลดการสะสมของคอเลสเตอรอล โคลีน จะช่วยในการกระจายตัวของคอเลสเตอรอล ไม่ให้คอเลสเตอรอลเกาะที่ผนังหลอดเลือดแดงหรือผนังของถุงน้ำดี
  3. ทำงานร่วมกับอิโนซิทอลในการถ่ายเทวิตามินที่ละลายในไขมันให้กระจายไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกาย
  4. ป้องกันการเกาะกลุ่มของไขมันไม่ให้เป็นก้อน
  5. ช่วยในการส่งกระแสประสาท โดยเฉพาะในสมองส่วนที่ทำหน้าที่ทางด้านความจำ
  6. ช่วยในการแก้ปัญหาความจำเสื่อมในผู้สูงอายุ
  7. ช่วยกำจัดสารพิษและยาที่ตกค้างในร่างกาย โดยจะช่วยเสริมการทำงานของตับ
  8. ทำให้เกิดความรู้สึกผ่อนคลาย
  9. ช่วยในการรักษาโรคอัลไซเมอร์

ปริมาณที่ควรได้รับโคลีน 

100 – 125 มิลลิกรัมต่อวัน, การเสริมอาหารด้วยโคลีน ช่วยเพิ่มระดับของ Acetylcholine ในสมอง ดังนั้น โคลีนจึงมีความสำคัญมากต่อผู้ป่วยที่เป็นโรคอัลไซเมอร์

 

อาการของการขาดโคลีน

  1. ความต้านทานต่อโรค และการอักเสบต่ำ
  2. ผนังเส้นเลือดแดงเสื่อม เนื่องจาก ผนังของหลอดเลือดแข็ง
  3. ความดันโลหิตสูง
  4. คอเลสเตอรอลสูง
  5. เกิดลิ่มเลือด และเลือดอุดตันได้
  6. ประสาทเสื่อม
  7. ตับถูกทำลาย ส่งผลให้ตับแข็งได้

อันตรายจากการได้รับโคลีน

ในผู้ใหญ่ ไม่ควรรับประทานโคลีนเกินวันละ 3.5 กรัม ขนาดที่สูงกว่านี้อาจทำให้มีอาการข้างเคียง คือ เหงื่อออกมาก ซึมเศร้า ความดันโลหิตต่ำ มีกลิ่นตัวคล้ายกลิ่นคาวปลา

ขอขอบคุณข้อมูลจาก:

  • อาหารเสริมโภาชนาการเพื่อสุขภาพ, นายแพทย์เรย์ ดี. แสตรนด์
  • วิตามินไบเบิล, ดร.เอิร์ล มินเดลล์