Capsaicin-antioxident

Capsaicin-cover

แคปไซซิน (Capsaicin)

สารสำคัญในพริก คือ แคปไซซิน(Capsaicin) ที่ทำให้พริกมีรสเผ็ดร้อน ทางวงการลดความอ้วนนำสารสกัดจากพริก มาเป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์ที่เร่งเผาผลาญไขมัน นอกจากพริกแล้ว สารแคปไซซิน ยังพบได้ในพริกไทยอีกด้วยแคปไซซิน (capsaicin) เป็นสารประกอบฟีนอลิก (phenolic compound)  ที่พบตามธรรมชาติในพริก  ส่วนใหญ่จะอยู่ในบริเวณเยื่อแกนกลางสีขาว หรือเรียกว่ารก” (placenta) ส่วนของเนื้อผลพริก เปลือกผล และเมล็ดจะมีสารแคปไซซินอยู่น้อยมาก

โครงสร้างโมเลกุล

แคปไซซิน เป็นสารหลักของสารในกลุ่มแคปไซซินอยด์ (capsicinoids) โดยทั่วไปแคปไซซินอยด์จะประกอบด้วยแคปไซซิน 70% และไฮโดรแคปไซซิน 22% และสารอื่นๆ อีก 8% แคปไซซินมี สูตรโมเลกุล C18 H23 NO3 โครงสร้างเคมีคือ 8-methyl-n-vanillyl-6-noneamide มีน้ำหนักโมเลกุล 305.46

ปริมาณของสารแคปไซซินจะแตกต่างกันออกไปตามชนิดและสายพันธุ์ของพริก กล่าวคือ ปริมาณของสารแคปไซซิน มากน้อยเรียงตามลำดับ ดังนี้คือ พริกขี้หนู 18.2 ppm (ส่วนในล้านส่วน) พริกเหลือง 16.7 ppm พริกชี้ฟ้า 4.5 ppm พริกหยวก 3.8 ppm พริกหวาน (พริกยักษ์) 1.6 ppm

 

สมบัติของแคปไซซิน

แคปไซซิน ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ละลายในน้ำได้เล็กน้อย และละลายได้ในไขมันน้ำมัน และแอลกอฮอล์ได้ดี มีจุดหลอมเหลว 65 องศาเซลเซียส ทนความร้อนและความเย็นได้ดีด้วย

ประโยชน์ของแคปไซซิน

  1. การวิจัยโดยอาจารย์จากคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พบว่าพริกสามารถลดระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานได้ และพริกไทยลดไขมันในเลือด ไขมันในเนื้อเยี่อ ไตรกลีเซอไรด์ ฟอสโฟลิปิด และคอเลสเตอรอลได้ในหนูทดลอง
  2. มีพริกที่มีการพัฒนาสารพันธุ์ให้สร้างสารกลุ่มแคปไซซินอยด์(Capsaicinoids) ที่ไม่ใช่แคปไซซิน ซื่อว่า สารแคปไซเตท แต่พิสูจน์แล้วว่าสามารถลดการสะสมไขมันที่ตับ และมีผลิตภัณฑ์เร่งการเผาผลาญไขมันจากพริกชนิดนี้ จำหน่ายในประเทศญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกา ผลิตภัณฑ์นี้เหมาะกับคนอ้วนที่มีการเผาผลาญต่ำ เนื้อตัวเย็น

ข้อควรระวังในการรับประทาน

พริกทั่วไปมีความระคายเคืองต่อเนื้อเยื่อ ทั้งในช่องปาก และกระเพาะอาหาร หากรับประทานมากจะทำให้เนื้อเยื่ออักเสบ บวม และแสบร้อนได้ ดังนั้น ผู้ป่วยโรคกระเพาะ และริดสีดวงทวารหนัก จึงไม่ควรบริโภคพริก

 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก: คู่มืออาหารเสริม, ดร.เริงฤทธ์ สัปปพันธ์
http://www.agric-prod.mju.ac.th/web-veg/article/new128.htm