โคลีน (Choline)
โคลีน(Choline)เป็นสารอาหารสำคัญตัวหนึ่งที่จัดอยู่ในกลุ่มของวิตามินบี โดยส่วนใหญ่อยู่ในรูปของฟอสฟา-ติดิลโคลีน (phosphatidylcholine) หรือโคลีนอิสระ (free choline) หากโคลีนรวมตัวกับไขมันที่เรียกว่าฟอสโฟลิปิด (phospholipid) จะได้เป็นฟอสฟาติดิลโคลีน (PC) ซึ่งเป็นส่วนประกอบที่พบมากที่สุดในเลซิทิน (Lecithin)ดังนั้นโคลีนจึงมีความเกี่ยวข้องใกล้ชิดกับเลซิทินโคลีน (Choline) เป็นสารข้นไม่มีสี ละลายในน้ำ และแอลกอฮอล์ ในร่างกายจะอยู่ในรูปฟอสโฟไลปิดหรือ Acetylcholine จำเป็นสำหรับการสังเคราะห์โปรตีน และฮอร์โมนจากต่อมหมวกไต เป็นสารที่ให้กลุ่มเมธิลแก่สารอื่นๆใช้สร้างสารฟอสโฟไลปิด เช่น เลซิติน ป้องกันไขมันสะสมในตับ(Lipotropic factor) และเป็นส่วนประกอบของ Acetylcholine ซึ่งจำเป็นสำหรับการทำงานของระบบประสาท
โคลีน จัดอยู่ในตระกูลวิตามินบีรวม และเป็นหนึ่งในสารที่ช่วยเร่งกระบวนการเผาผลาญไขมันในร่างกาย โคลีนจะทำงานร่วมกับอิโนซิทอล ในกระบวนการใช้ไขมันและคอเลสเตอรอลของร่างกาย โคลีนจะตรงเข้าไปยังเซลล์สมองเพื่อผลิตสารเคมีที่ช่วยเรื่องความทรงจำ การใช้โคลีนในร่างกาย ขึ้นอยู่กับวิตามิน บี12 กรดโฟลิก และกรดอะมิโนคาร์นิทีน
แหล่งที่พบโคลีนในธรรมชาติ
พบมากใน ไข่แดง ผักใบเขียว ผักกาดหอม ผักลงหัวชนิดต่างๆ ผักกาด ผลไม้รสเปรี้ยว กล้วย ข้าวโพด ข้าวสาลี เนื้อไก่ หอย นม กะหล่ำปลี ธัญพืช ยีสต์ ตับ จมูกข้าวสาลี
ประโยชน์ที่ร่างกายได้รับจากโคลีน
- ช่วยในการสร้างเลซิติน
- ช่วยลดการสะสมของคอเลสเตอรอล โคลีน จะช่วยในการกระจายตัวของคอเลสเตอรอล ไม่ให้คอเลสเตอรอลเกาะที่ผนังหลอดเลือดแดงหรือผนังของถุงน้ำดี
- ทำงานร่วมกับอิโนซิทอลในการถ่ายเทวิตามินที่ละลายในไขมันให้กระจายไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกาย
- ป้องกันการเกาะกลุ่มของไขมันไม่ให้เป็นก้อน
- ช่วยในการส่งกระแสประสาท โดยเฉพาะในสมองส่วนที่ทำหน้าที่ทางด้านความจำ
- ช่วยในการแก้ปัญหาความจำเสื่อมในผู้สูงอายุ
- ช่วยกำจัดสารพิษและยาที่ตกค้างในร่างกาย โดยจะช่วยเสริมการทำงานของตับ
- ทำให้เกิดความรู้สึกผ่อนคลาย
- ช่วยในการรักษาโรคอัลไซเมอร์
ปริมาณที่ควรได้รับโคลีน
100 – 125 มิลลิกรัมต่อวัน, การเสริมอาหารด้วยโคลีน ช่วยเพิ่มระดับของ Acetylcholine ในสมอง ดังนั้น โคลีนจึงมีความสำคัญมากต่อผู้ป่วยที่เป็นโรคอัลไซเมอร์
อาการของการขาดโคลีน
- ความต้านทานต่อโรค และการอักเสบต่ำ
- ผนังเส้นเลือดแดงเสื่อม เนื่องจาก ผนังของหลอดเลือดแข็ง
- ความดันโลหิตสูง
- คอเลสเตอรอลสูง
- เกิดลิ่มเลือด และเลือดอุดตันได้
- ประสาทเสื่อม
- ตับถูกทำลาย ส่งผลให้ตับแข็งได้
อันตรายจากการได้รับโคลีน
ในผู้ใหญ่ ไม่ควรรับประทานโคลีนเกินวันละ 3.5 กรัม ขนาดที่สูงกว่านี้อาจทำให้มีอาการข้างเคียง คือ เหงื่อออกมาก ซึมเศร้า ความดันโลหิตต่ำ มีกลิ่นตัวคล้ายกลิ่นคาวปลา
ขอขอบคุณข้อมูลจาก:
- อาหารเสริมโภาชนาการเพื่อสุขภาพ, นายแพทย์เรย์ ดี. แสตรนด์
- วิตามินไบเบิล, ดร.เอิร์ล มินเดลล์