blood vitamin info

สำหรับผู้ที่มีภาวะโลหิตจาง มีปัญหาเกี่ยวกับหัวใจ หรือผู้ที่ต้องการบำรุงหัวใจและเลือดของตัวเองให้สมบูรณ์อยู่เสมอ ลองกินอาหารที่มีวิตามินบำรุงหัวใจและวิตามินบำรุงเลือด ส่วนใหญ่เป็นอาหารที่เราคุ้นเคย รับประมานกันอยู่บ่อยๆอย่างที่ทราบกันมาบ้างแล้วว่า ถ้าอยากบำรุงเลือดควรต้องกินอาหารที่อุดมไปด้วยธาตุเหล็กและโปรตีน และวิตามินเหล่านี้

  1. วิตามิน อี ผลการวิจัยสรุปว่า การเสริมอาหารด้วยวิตามินอี 200-400ยูนิตสากล (IU) เป็นประโยชน์ระยะยาวต่อระบบหลอดเลือด เพราะวิตามินอี ไปลดกระบวนการออกซิเดชั่นหรือการสันดาประหว่างอนุมูลอิสระกับไขมันเสีย (LDL) ในร่างกายเมื่อลดการสันดาปไขมันก็ไม่เกาะติดกับผนังหลอดเลือดมากไป เลือดก็ไหลเวียนดีไม่ติดขัดหรืออุดตัน เราหาวิตามินอีได้จากอาหารประเภทน้ำมันพืช เช่นทานตะวัน ถั่วอัลมอนด์ ผักปวยเล้ง
  2. วิตามิน ซี หน้าที่ของวิตามินซี คือ ช่วยลดการสันดาปเช่นเดียวกับวิตามินอี ช่วยดูแลความดันให้ปกติ แต่ต่างจากวิตามินอีที่วิตามินซีจะลายได้ดีในน้ำ
  3. วิตามิน บี วิตามิน บี6 บี12 และกรดโฟลิค การศึกษาในระยะหลัง มีส่วนสำคัญมากที่ทำให้ป้องกันโรคหัวใจได้ดีขึ้น เพราะมีการพบว่ากรดอะมิโนตัวหนึ่งในร่างกายของเราที่ชื่อว่า โฮโมซีสเทอีน(Homocysteine)หากมีค่าที่สูงเกินไปในร่างกาย จะทำให้ไขมันสะสมในหลอดเลือดเพิ่มขึ้นสูง และเพิ่มการอักเสบในหลอดเลือด และเพิ่มความเสี่ยงที่ไขมันจะอุดตันการไหลเวียนของหลอดเลือดหัวใจและสมอง และเจ้าโฮโมซีสทีนตัวนี้จะสูงในคนที่ชอบกินแป้งหรือกินข้าวขาว วิตามินบี 12 และกรดโฟลิคจะเป็นสารอาหารที่สำคัญในการลดระดับของโฮโมซีสเทอีนให้อยู่ในระดับไม่ไปก่อให้เกิดปัญหากับระบบหลอดเลือด แต่เราต้องได้รับไม่น้อยกว่าวันละ 200 มิลลิกรัม ผักใบเขียวเข้มมีกรดโฟลิค เช่นผักโขม คะน้า บรอคโคลี่ ถั่วแดง
  4. แมกนีเซียม คนที่ขาดแมกนีเซี่ยม มักมีอาการหลอดเลือดและหัวใจ เพราะแมกนีเซี่ยมสำคัญต่อการทำงานของเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจและหลอดเลือด แมกนีเซี่ยมมีมากใน ผงโกโก้ เมล็ดทานตะวัน
  5. แคลเซียม การได้แคลเซี่ยมอย่างเพียงพอจะทำให้ความดันเลือดอยู่ในระดับปกติ เราควรได้รับแคลเซี่ยมถึง 1000 มิลลิกรัมต่อวัน โดยจากอาหารควรได้ถึง 500 มก. และเสริมอีก 500 มก.
  6. น้ำมันปลาโอเมก้า 3 พระเอกอีกตัวหนึ่งที่ลดการอักเสบของหลอดเลือด และช่วยเพิ่มไขมันตัวดี HDL (High Density Lipoproteine)ที่ทำหน้าที่ขนไขมันตัวร้าย LDLไปกำจัดทิ้งไม่ให้มาวุ่นวายกับหลอดเลือดในร่างกาย
  7. วิตามิน เค ช่วยป้องกันเลือดออกภายในและเลือดออกไม่หยุด ช่วยบรรเทาอาการประจำเดือนมามากกว่าปกติ ช่วยในกระบวนการสร้างลิ่มเลือด และช่วยป้องกันกระดูกเปราะบาง
  8. โคเอ็นไซม์ คิวเท็น  Coenzyme Q10 เป็นวิตามินที่ละลายได้ดีในไขมัน วิตามินชนิดนี้จัดเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่พบได้ในทุกเซลล์ของสิ่งมีชีวิต โดยมันจะทำหน้าที่ในการป้องกันเซลล์ไม่ให้ทำปฎิกิริยากับออกซิเจน จึงช่วยให้ร่างกายสามารถนำเอาออกซิเจนมาใช้งานได้มากยิ่งขึ้น ซึ่งยิ่งร่างกายมีโอกาสได้รับออกซิเจนมากขึ้นเท่าไร ก็ยิ่งส่งผลที่ดีต่อร่างกายมากขึ้นเท่านั้น นอกจากนี้ Q10 ยังมีหน้าที่ที่สำคัญมากๆในการสร้างพละกำลังให้แก่ร่างกาย โดยการเป็นตัวจุดประกายให้ไมโตรครอนเดียในเซลล์ สามารถสร้างพลังงานให้แก่ร่างกายได้ ดังนั้น หากร่างกายของเราขาดวิตามินชนิดนี้ ก็จะส่งผลให้ร่างกายขาดพลังงานอย่างมหาศาลที่จะไปหล่อเลี้ยงให้ร่างกายมีพลังงานในการขับเคลื่อนชีวิตต่อไป Q10 จึงถือเป็นสิ่งจำเป็นเป็นอย่างมากสำหรับอวัยวะที่ต้องทำงานอย่างหนักตลอดเวลา หรืออวัยวะที่ต้องใช้พลังงานสูงมากเป็นพิเศษ เช่น หัวใจ ตับ หรือ ไต เป็นต้น