กรดโฟลิก เป็นหนึ่งในสมาชิกกลุ่มวิตามินบี ที่มีความจำเป็นต่อการสังเคราะห์ DNA หากมีปริมาณกรดโฟลิกไม่เพียงพอเซลล์จะแบ่งตัวได้ไม่ดี
กรดโฟลิค มีส่วนสำคัญในการสร้างเม็ดเลือดแดง ช่วยป้องกันการพิการแต่กำเนิดในทารก ช่วยในการสร้างน้ำนมของมารดาหลังคลอด ช่วยป้องกันพยาธิในลำไส้ และอาหารเป็นพิษ ช่วยให้ผิวพรรณแลดูมีสุขภาพดี ช่วยชะลอผมหงอก
กรดโฟลิกสารสำคัญช่วงตั้งครรภ์ กรดโฟลิกมีความสำคัญอย่างยิ่ง สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ เนื่องจาก ช่วง 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์เป็นระยะของการสร้างอวัยวะของลูกในท้อง ช่วงนี้เซลล์จะมีการแบ่งตัวอย่างรวดเร็วมาก และกรดโฟลิกมีบทบาทสำคัญในการแบ่งตัวของเซลล์ สร้างสมอง ไขสันหลังรวมทั้งกระดูกสันหลังด้วย ดังนั้น ถ้าช่วงนี้ร่างกายของแม่ขาดกรดโฟลิก จะมีผลทำให้การแบ่งเซลล์ผิดปกติได้ มีการศึกษาพบว่าแม่ตั้งครรภ์ที่ขาดสารโฟลิกจะคลอดลูกพิการทางระบบสมองมากกว่ากลุ่มที่ไม่ขาดสารโฟลิกหลายเท่า
การวางแผนตั้งครรภ์ ควรจะเตรียมความพร้อมร่างกายด้วยการกินสารอาหารที่มีกรดโฟลิกวันละประมาณ 400 ไมโครกรัม 3 เดือนเป็นอย่างต่ำก่อนการตั้งครรภ์ และประมาณ 600 ไมโครกรัมในช่วง 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ซึ่งเป็นช่วงที่การสร้างอวัยวะส่วนต่างๆของทารกได้ผ่านระยะวิกฤติไปแล้ว
ประโยชน์ที่ร่างกายได้รับจากกรดโฟลิค
- ทําให้เซลล์เม็ดเลือดแดงเจริญเต็มที่ถ้าขาดจะเป็นโรคโลหิตจาง
- ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจล้มเหลว และโรคลมปัจจุบัน เนื่องจากกรดโฟลิก มีความสามารถในการลดระดับของโฮโมซีสเทอีนได้
- ช่วยป้องกันสภาวะท่อประสาทปิดไม่สนิทในวัยแรกเกิด
- สามารถช่วยลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคกระดูกพรุน เนื่องจากกรดโฟลิก มีความสามารถในการลดระดับของโฮโมซีสเทอีนได้
- ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็ง
- ช่วยพัฒนาผู้ป่วยที่เป็นโรคซึมเศร้าและมีความสับสนทางจิตในผู้สูงอายุ
- ทําให้เซลล์ประสาทไขสันหลัง และเซลล์สมองเจริญเป็นปกติ
ปริมาณที่ควรได้รับกรดโฟลิค ร่างกายควรได้รับในปริมาณ 200 – 1,000 ไมโครกรัมต่อวัน, สตรีมีครรภ์ต้องการกรดโฟลิก 4,000 ไมโครกรัมต่อวัน
แหล่งที่พบกรดโฟลิค ในธรรมชาติ พบมากในผักใบเขียว ถั่วต่างๆ บร็อคโคลี่ ลูกหม่อน ใบหม่อน กะหล่ำปลี ธัญพืช และสัม
โฮโมซีสเทอีน (Homocysteine) เป็นกรดอะมิโนที่จะสร้างกรดอะมิโนตัวอื่นโดยอาศัย วิตามินบี6 วิตามินบี12 และกรดโฟลิก ถ้าขาดวิตามินดังกล่าว Homocysteine จะไม่ถูกเปลี่ยนเป็นกรดอะมิโนตัวอื่น ทำให้มีสาร Homocysteine ในเลือดสูง และจะทำลายผนังหลอดเลือด ทำให้เกิดการกระตุ้นการอุดตันของลิ่มเลือดตามมา ระดับ Homocysteine ในเลือด เป็นตัวชี้วัดความเสี่ยงการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
- วิตามินไบเบิล, ดร.เอิร์ล มินเดลล์